ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบย้อนกลับ ณ ท่าเรือประมง นำไปสู่การทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบร่วมกัน

ก.แรงงาน จับมือ ILO ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เสริมความเข้มแข็งการตรวจแรงงานและการกำกับดูแลกิจการประมงและแปรรูปอาหารทะเล แก้ไขปัญหาแรงงาน ขจัดการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์

หยุดประมงทำลายล้าง ฟื้นฟูปลาทูไทย.......

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ถูกติดตั้งตระหง่านบริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมข้อความรณรงค์ว่า “หยุดกิน หยุดซื้อ หยุดขาย ลูกปลาทู” ซึ่งเป็นการจัดทำขึ้นของสมาคมรักษ์ทะเลไทย สร้างความสนใจให้กับผู้เดินทางผ่านไปผ่านมาอย่างมาก เนื่องจากป้ายข้อความดังกล่าวดึงดูดสะดุดตาชวนให้อ่าน จึงเกิดคำถามว่าการรณรงค์ครั้งนี้มาจากสาเหตุใด

ตังเกเดือดสะท้อนปัญหา IUU 300 ข้อบังคับไม่ฟังเสียงชาวประมง...

การประชุมเพื่อร่วมกันสะท้อนปัญหาความไม่พร้อมของผู้ประกอบการประมงทั่วประเทศต่อการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐอันเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย-ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unregulat-ed and Unreported หรือ IUU) ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นที่ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียด โดยสมาชิกสมาคมประมงจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ-ผู้ประกอบการแพปลา ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาที่หน่วยงานภาครัฐ “ไม่ยอมรับรู้ว่ามันคือปัญหาและไม่ฟังเสียงชาวประมง” อันเนื่องมาจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และพระราชกำหนดการประมง ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2560 ตลอดจนถึงกฎหมายลูกเกือบ 300 ฉบับแบบที่ชาวประมงไม่มีส่วนร่วม

สมาคมประมงเตรียมเปิดแอพพลิเคชันไลน์ซื้อขายเรือ หลังกรมประมงไฟเขียวควบรวมใบอนุญาต จูงใจแลกทำประมงได้ตลอดปีไม่ถูกหั่นโควตา จับตา 505 ลำเสี่ยง ควบรวมไม่ได้วืดต่อใบอนุญาตรอบใหม่ ขณะเพื่อนร่วมอาชีพได้ทีโก่งราคาขาย

อำไพ หาญไกรวิไลย์ ปธ.หอสมุทรสาคร รายได้ธุรกิจอาหารทะเลลด 30%-...

อำไพ หาญไกรวิไลย์ ปธ.หอสมุทรสาคร รายได้ธุรกิจอาหารทะเลลด 30%-

ไทยแจงแก้ค้ามนุษย์ในประมงเข้ม หลังข่าวสะพัดแรงงาน 1 ใน 3 มีปัญหา พบทำผิดดำเนินตามกฎหมายทันที

ขาดวัตถุดิบ – โรงงานผู้ผลิตปลาป่นทั่วประเทศ 74 ราย ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอย่างหนักในการผลิตปลาป่น เนื่องจากเรือประมงจำนวนมากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมประมงกำหนด ทำให้ไม่สามารถออกหาปลาได้

การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของปลาซึ่งใช้ในการผลิตซูริมิ...

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำการส่งออกอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของโลก  ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ซูริมิ (surimi) หรือ เนื้อปลาบดแช่เยือกแข็ง ในการผลิตซูริมิ มักมีการนำปลาทะเลที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก และไม่นิยมบริโภคสด มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต

ตั้งศูนย์พิสูจน์สัญชาติสางปัญหาแรงงานเถื่อน...

ไทย-กัมพูชาร่วมแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวเถื่อน เตรียมเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติในไทยส.ค.นี้ ประเดิมแรงงานประมงก่อน

 

วันนี้ (17ก.ค.60) ภายหลังจากรัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะการประกาศใช้ มาตรา 44 เพื่อชะลอข้อขัดข้องการบริหารจัดการ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 ใน 4 มาตรา เป็นระยะเวลา 180 วัน เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้าง ได้มีเวลาปรับตัวก่อนมีผลบังคับใช้จริงวันที่ 1 ม.ค. 2561

 

ล่าสุดทางกรมการจัดหางาน ได้ร่วมหารือกับนายเส็ง ศักดา อธิบดีกรมแรงงาน และฝึกอบรมอาชีพกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อชี้แจงถึงสาระของร่าง

พ.ร.ก.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวฯ เพื่อนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขั้นตอนการตรวจพิสูจน์สัญชาติเพื่อขอใบรับรองสัญชาตินั้น กัมพูชาแจ้งว่าจะเข้ามาเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติในเดือนสิงหาคมนี้ และจะเร่งทำการพิสูจน์สัญชาติในกลุ่มบัตรชมพูก่อน โดยเฉพาะแรงงานประมง ประมาณ 40,000 คน ซึ่งบัตรจะหมดอายุในวันที่ 1 พ.ย.นี้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นเอกสารการรับรองเดินทางที่ใช้ได้ในประเทศไทย 2,350 บาท โดยให้แรงงานจ่ายเงินและนัดคิวที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส และไปที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติ ตามวันนัดหมาย ใช้เวลา 1 วัน ก็รับเล่มได้ทันที จากนั้นก็จะเร่งดำเนินการต่อในกลุ่มไม่มีเอกสารแสดงตน ขณะเดียวกันก็จะเร่งแจกหนังสือเดินทางสำหรับต่างด้าว ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับหนังสือเดินทาง และเอกสารการรับรองเดินทางที่ใช้ได้ในประเทศไทยที่ค้างอยู่ประมาณ 160,000 เล่ม ให้แล้วเสร็จ

 

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือในการสอดส่องดูแลนายหน้าเถื่อน รวมถึงหากพบเจ้าหน้าที่กระทำผิดหรือทุจริตขอให้แจ้งทันที ซึ่งในรายละเอียดจะมีการหารือระหว่างกัมพูชา-ไทย อีกครั้งในระหว่างวันที่ 26-27 ก.ค.นี้

 

 

 

ที่มา TNN 24 Online

ดีเดย์! 24 ก.ค. เปิดศูนย์แจ้งทำงานต่างด้าวทั่วกทม....

 

กระทรวงแรงงานเตรียมเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวในพื้นที่กทม.จำนวน11จุด โดยพร้อมเปิดให้บริการในวันที่24ก.ค.-7ส.ค.นี้โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

วันนี้ (19 ก.ค. 60) นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานพร้อมเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวพร้อมกัน 11 ศูนย์ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครคือกระทรวงแรงงาน,IT Square หลักสี่พลาซ่า,สถานีขนส่งสายใต้ชั้น 2,ธัญญาปาร์ค ถนนศรีนครินทร์,ศูนย์กีฬาบางขุนเทียนเคหะชุมชนธนบุรี 3,สวนกีฬารามอินทรา,กรมยุทธศึกษาทหารบก,อาคารสโมสรวังนันทอุทยาน (กองทัพเรือ),หอประชุมมหาวิทยาลัยกรุงเทพ – สุวรรณภูมิ,สำเพ็ง 2 ปาร์ค (เฟส 3) และกองความปลอดภัยแรงงาน ถนนบรมราชชนนี

 

โดยในทุกศูนย์ฯจะมีเจ้าหน้าที่รับแบบคำขอจำนวนศูนย์ฯละ 30 คน พร้อมเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้รวดเร็วที่สุด ซึ่งนายจ้างสามารถใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้โดยตรงไม่ต้องมาที่ศูนย์ฯก็ได้ โดยสามารถโหลดแบบฟอร์มล่วงหน้าได้แล้วที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน www.doe.go.th หรือสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว 

 

ขณะที่เอกสารในการขอขึ้นทะเบียนแรงงาน จะประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง หรือสำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล,รูปถ่ายลูกจ้างคนต่างด้าวขนาด 2 นิ้วจำนวน 3 รูป และแบบยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าว

 

ทั้งนี้ ศูนย์ฯดังกล่าวจะเปิดเพียง 15 วัน คือตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. – 7 ส.ค. 2560 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ เช่นเดียวกับศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวทั่วประเทศรวม 100 จุด ซึ่งคาดว่าจะมีนายจ้างนำแรงงานมาขึ้นทะเบียนทั่วประเทศกว่า 1,500,000 คน

 

ที่มา TNN 24 Online

คาดอียูให้"ใบเหลือง" ไทยแก้ประมงผิดกฎหมายคงสถานะเดิม...

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดสหภาพยุโรป หรืออียู อาจประกาศให้ไทยได้ "ใบเหลือง"ในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย คงสถานะเดิม โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมแถลงผล 24 ก.ค.นี้

 

วานนี้ (17 ก.ค.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจากสหภาพยุโรป หรืออียู เดินทางมาติด ตามตรวจสอบการแก้ไขปัญหาของไทย เมื่อวันที่ 1-16 ก.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นมีรายงานว่า ไทยจะยังคงได้รับสถานะใบเหลืองต่อไป

 

ทั้งนี้ แม้จะมีรายงานว่า การเข้าตรวจสอบตามมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ของเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวโน้มว่า อียูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการของไทย แต่ก็มีรายงานว่า ไทยอาจจะยังต้องคงสถานะใบเหลืองต่อไป โดยยังไม่มีการประกาศลดหรือเพิ่มอันดับจากเดิมมีรายงานว่าวันที่ 24 ก.ค.นี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะแถลงผลติดตามการแก้ไขปัญหาไอยูยู และสถานะของไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง 

 

เบื้องต้น พล.อ.ฉัตรชัย บอกว่า  การติดตามแก้ไขปัญหาไอยูยู ของเจ้าหน้าที่อียู อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเห็นว่าไทยมีพัฒนาการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าที่คาดไว้มาก มีการบังคับใช้กฎ หมายดีขึ้น มีการลงโทษทางการปกครอง  เหลือเพียงเรื่องของบุคลากร ที่ยังไม่มีความชำนาญในเรื่องของการตรวจสอบเรือ หลังจากนี้อาจหารือกับอียู เพื่อให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่ไทย

 

 

ปลัดเกษตร รับข้อเสนอประมงพื้นบ้านนักถก 29 ก.ค.นี้

 

ด้าน นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยผลการหารือกับสมาพันธ์ชาวประมงพื้นแห่งประเทศไทย และเครือข่ายชุมชนชายฝั่งทะเล โดยระบุว่าตามพระราชกำ หนดการประมงฉบับที่ 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญเพื่อควบคุมการทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งกลุ่มประมงพื้นบ้านเห็นว่า มีบางข้อบังคับที่ยังส่งผลกระทบกับการทำประมง จึงให้ทั้งหมดกลับไปจัดทำรายละเอียดข้อบังคับที่เห็นว่าส่งผลกระทบ และนำมาหารือร่วมกับกรมประมงอีกครั้งในวันที่ 29 ก.ค.นี้

 

ขณะที่นายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นแห่งประเทศไทย และเครือข่ายชุมชนชายฝั่งทะเล กล่าวว่า สมาคมฯ ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้เร่งออกประกาศกระทรวงเกษตรฯ กรณียกเว้นประมงพื้นบ้านให้ไม่เป็นเรือไร้สัญชาติ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดขนาด สัดส่วนสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ห้ามนำขึ้นเรือประมง

 

พร้อมทั้งขอให้ยกเลิก มาตรา 34 ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้ยกเลิกไปแล้ว แต่พระราชกำหนดการประมง ฉบับที่2 ยังกำหนดห้ามเกิน 3ไมล์ทะเล กระทบกับเรือพื้นบ้านที่มีกว่าร้อยละ 80

 

ที่มา Thai PBS Online