ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบย้อนกลับ ณ ท่าเรือประมง นำไปสู่การทำการประมงอย่างมีความรับผิดชอบร่วมกัน

ก.แรงงาน จับมือ ILO ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติงานกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เสริมความเข้มแข็งการตรวจแรงงานและการกำกับดูแลกิจการประมงและแปรรูปอาหารทะเล แก้ไขปัญหาแรงงาน ขจัดการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์

ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ถูกติดตั้งตระหง่านบริเวณหน้าศูนย์ราชการจังหวัดนนทบุรี พร้อมข้อความรณรงค์ว่า “หยุดกิน หยุดซื้อ หยุดขาย ลูกปลาทู” ซึ่งเป็นการจัดทำขึ้นของสมาคมรักษ์ทะเลไทย สร้างความสนใจให้กับผู้เดินทางผ่านไปผ่านมาอย่างมาก เนื่องจากป้ายข้อความดังกล่าวดึงดูดสะดุดตาชวนให้อ่าน จึงเกิดคำถามว่าการรณรงค์ครั้งนี้มาจากสาเหตุใด

การประชุมเพื่อร่วมกันสะท้อนปัญหาความไม่พร้อมของผู้ประกอบการประมงทั่วประเทศต่อการบังคับใช้กฎหมายของภาครัฐอันเนื่องมาจากการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย-ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unregulat-ed and Unreported หรือ IUU) ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นที่ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ในสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เกิดขึ้นท่ามกลางความตึงเครียด โดยสมาชิกสมาคมประมงจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ-ผู้ประกอบการแพปลา ได้ร่วมกันสะท้อนปัญหาที่หน่วยงานภาครัฐ “ไม่ยอมรับรู้ว่ามันคือปัญหาและไม่ฟังเสียงชาวประมง” อันเนื่องมาจากการบังคับใช้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และพระราชกำหนดการประมง ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2560 ตลอดจนถึงกฎหมายลูกเกือบ 300 ฉบับแบบที่ชาวประมงไม่มีส่วนร่วม

สมาคมประมงเตรียมเปิดแอพพลิเคชันไลน์ซื้อขายเรือ หลังกรมประมงไฟเขียวควบรวมใบอนุญาต จูงใจแลกทำประมงได้ตลอดปีไม่ถูกหั่นโควตา จับตา 505 ลำเสี่ยง ควบรวมไม่ได้วืดต่อใบอนุญาตรอบใหม่ ขณะเพื่อนร่วมอาชีพได้ทีโก่งราคาขาย

อำไพ หาญไกรวิไลย์ ปธ.หอสมุทรสาคร รายได้ธุรกิจอาหารทะเลลด 30%-

ไทยแจงแก้ค้ามนุษย์ในประมงเข้ม หลังข่าวสะพัดแรงงาน 1 ใน 3 มีปัญหา พบทำผิดดำเนินตามกฎหมายทันที

ขาดวัตถุดิบ – โรงงานผู้ผลิตปลาป่นทั่วประเทศ 74 ราย ประสบปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบอย่างหนักในการผลิตปลาป่น เนื่องจากเรือประมงจำนวนมากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมประมงกำหนด ทำให้ไม่สามารถออกหาปลาได้

ปัจจุบันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำการส่งออกอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของโลก  ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีความสำคัญ คือ ซูริมิ (surimi) หรือ เนื้อปลาบดแช่เยือกแข็ง ในการผลิตซูริมิ มักมีการนำปลาทะเลที่มีขนาดเล็ก ราคาถูก และไม่นิยมบริโภคสด มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต

ไทย-กัมพูชาร่วมแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าวเถื่อน เตรียมเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติในไทยส.ค.นี้ ประเดิมแรงงานประมงก่อน

 

วันนี้ (17ก.ค.60) ภายหลังจากรัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะการประกาศใช้ มาตรา 44 เพื่อชะลอข้อขัดข้องการบริหารจัดการ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารจัดการการทำงานของแรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 ใน 4 มาตรา เป็นระยะเวลา 180 วัน เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้าง ได้มีเวลาปรับตัวก่อนมีผลบังคับใช้จริงวันที่ 1 ม.ค. 2561

 

ล่าสุดทางกรมการจัดหางาน ได้ร่วมหารือกับนายเส็ง ศักดา อธิบดีกรมแรงงาน และฝึกอบรมอาชีพกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เพื่อชี้แจงถึงสาระของร่าง

พ.ร.ก.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวฯ เพื่อนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยขั้นตอนการตรวจพิสูจน์สัญชาติเพื่อขอใบรับรองสัญชาตินั้น กัมพูชาแจ้งว่าจะเข้ามาเปิดศูนย์พิสูจน์สัญชาติในเดือนสิงหาคมนี้ และจะเร่งทำการพิสูจน์สัญชาติในกลุ่มบัตรชมพูก่อน โดยเฉพาะแรงงานประมง ประมาณ 40,000 คน ซึ่งบัตรจะหมดอายุในวันที่ 1 พ.ย.นี้ โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นเอกสารการรับรองเดินทางที่ใช้ได้ในประเทศไทย 2,350 บาท โดยให้แรงงานจ่ายเงินและนัดคิวที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส และไปที่ศูนย์พิสูจน์สัญชาติ ตามวันนัดหมาย ใช้เวลา 1 วัน ก็รับเล่มได้ทันที จากนั้นก็จะเร่งดำเนินการต่อในกลุ่มไม่มีเอกสารแสดงตน ขณะเดียวกันก็จะเร่งแจกหนังสือเดินทางสำหรับต่างด้าว ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติได้รับหนังสือเดินทาง และเอกสารการรับรองเดินทางที่ใช้ได้ในประเทศไทยที่ค้างอยู่ประมาณ 160,000 เล่ม ให้แล้วเสร็จ

 

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือในการสอดส่องดูแลนายหน้าเถื่อน รวมถึงหากพบเจ้าหน้าที่กระทำผิดหรือทุจริตขอให้แจ้งทันที ซึ่งในรายละเอียดจะมีการหารือระหว่างกัมพูชา-ไทย อีกครั้งในระหว่างวันที่ 26-27 ก.ค.นี้

 

 

 

ที่มา TNN 24 Online

 

กระทรวงแรงงานเตรียมเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวในพื้นที่กทม.จำนวน11จุด โดยพร้อมเปิดให้บริการในวันที่24ก.ค.-7ส.ค.นี้โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ

 

วันนี้ (19 ก.ค. 60) นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กระทรวงแรงงานพร้อมเปิดศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวพร้อมกัน 11 ศูนย์ ครอบคลุมทุกพื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานครคือกระทรวงแรงงาน,IT Square หลักสี่พลาซ่า,สถานีขนส่งสายใต้ชั้น 2,ธัญญาปาร์ค ถนนศรีนครินทร์,ศูนย์กีฬาบางขุนเทียนเคหะชุมชนธนบุรี 3,สวนกีฬารามอินทรา,กรมยุทธศึกษาทหารบก,อาคารสโมสรวังนันทอุทยาน (กองทัพเรือ),หอประชุมมหาวิทยาลัยกรุงเทพ – สุวรรณภูมิ,สำเพ็ง 2 ปาร์ค (เฟส 3) และกองความปลอดภัยแรงงาน ถนนบรมราชชนนี

 

โดยในทุกศูนย์ฯจะมีเจ้าหน้าที่รับแบบคำขอจำนวนศูนย์ฯละ 30 คน พร้อมเจ้าหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้รวดเร็วที่สุด ซึ่งนายจ้างสามารถใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตได้โดยตรงไม่ต้องมาที่ศูนย์ฯก็ได้ โดยสามารถโหลดแบบฟอร์มล่วงหน้าได้แล้วที่เว็บไซต์กรมการจัดหางาน www.doe.go.th หรือสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว 

 

ขณะที่เอกสารในการขอขึ้นทะเบียนแรงงาน จะประกอบด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของนายจ้าง หรือสำเนาหนังสือจดทะเบียนนิติบุคคลกรณีนายจ้างเป็นนิติบุคคล,รูปถ่ายลูกจ้างคนต่างด้าวขนาด 2 นิ้วจำนวน 3 รูป และแบบยื่นคำขอจ้างคนต่างด้าว

 

ทั้งนี้ ศูนย์ฯดังกล่าวจะเปิดเพียง 15 วัน คือตั้งแต่วันที่ 24 ก.ค. – 7 ส.ค. 2560 ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ เช่นเดียวกับศูนย์รับแจ้งการทำงานของคนต่างด้าวทั่วประเทศรวม 100 จุด ซึ่งคาดว่าจะมีนายจ้างนำแรงงานมาขึ้นทะเบียนทั่วประเทศกว่า 1,500,000 คน

 

ที่มา TNN 24 Online

 

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดสหภาพยุโรป หรืออียู อาจประกาศให้ไทยได้ "ใบเหลือง"ในการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย คงสถานะเดิม โดย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมแถลงผล 24 ก.ค.นี้

 

วานนี้ (17 ก.ค.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทนจากสหภาพยุโรป หรืออียู เดินทางมาติด ตามตรวจสอบการแก้ไขปัญหาของไทย เมื่อวันที่ 1-16 ก.ค.ที่ผ่านมา เบื้องต้นมีรายงานว่า ไทยจะยังคงได้รับสถานะใบเหลืองต่อไป

 

ทั้งนี้ แม้จะมีรายงานว่า การเข้าตรวจสอบตามมาตรการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู ของเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวโน้มว่า อียูมีความพึงพอใจต่อการดำเนินการของไทย แต่ก็มีรายงานว่า ไทยอาจจะยังต้องคงสถานะใบเหลืองต่อไป โดยยังไม่มีการประกาศลดหรือเพิ่มอันดับจากเดิมมีรายงานว่าวันที่ 24 ก.ค.นี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะแถลงผลติดตามการแก้ไขปัญหาไอยูยู และสถานะของไทยอย่างเป็นทางการอีกครั้ง 

 

เบื้องต้น พล.อ.ฉัตรชัย บอกว่า  การติดตามแก้ไขปัญหาไอยูยู ของเจ้าหน้าที่อียู อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยเห็นว่าไทยมีพัฒนาการแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าที่คาดไว้มาก มีการบังคับใช้กฎ หมายดีขึ้น มีการลงโทษทางการปกครอง  เหลือเพียงเรื่องของบุคลากร ที่ยังไม่มีความชำนาญในเรื่องของการตรวจสอบเรือ หลังจากนี้อาจหารือกับอียู เพื่อให้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกการปฏิบัติงานด้านการตรวจสอบให้เจ้าหน้าที่ไทย

 

 

ปลัดเกษตร รับข้อเสนอประมงพื้นบ้านนักถก 29 ก.ค.นี้

 

ด้าน นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยผลการหารือกับสมาพันธ์ชาวประมงพื้นแห่งประเทศไทย และเครือข่ายชุมชนชายฝั่งทะเล โดยระบุว่าตามพระราชกำ หนดการประมงฉบับที่ 2 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.ที่ผ่านมา มีสาระสำคัญเพื่อควบคุมการทำประมงพื้นบ้าน ซึ่งกลุ่มประมงพื้นบ้านเห็นว่า มีบางข้อบังคับที่ยังส่งผลกระทบกับการทำประมง จึงให้ทั้งหมดกลับไปจัดทำรายละเอียดข้อบังคับที่เห็นว่าส่งผลกระทบ และนำมาหารือร่วมกับกรมประมงอีกครั้งในวันที่ 29 ก.ค.นี้

 

ขณะที่นายสะมะแอ เจะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นแห่งประเทศไทย และเครือข่ายชุมชนชายฝั่งทะเล กล่าวว่า สมาคมฯ ยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เพื่อให้เร่งออกประกาศกระทรวงเกษตรฯ กรณียกเว้นประมงพื้นบ้านให้ไม่เป็นเรือไร้สัญชาติ และประกาศกระทรวงฯ กำหนดขนาด สัดส่วนสัตว์น้ำขนาดเล็กที่ห้ามนำขึ้นเรือประมง

 

พร้อมทั้งขอให้ยกเลิก มาตรา 34 ห้ามมิให้ผู้ได้รับอนุญาตทำการประมงพื้นบ้านทำการประมงในเขตทะเลนอกชายฝั่ง ซึ่งในเบื้องต้นที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายประมงแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เห็นชอบให้ยกเลิกไปแล้ว แต่พระราชกำหนดการประมง ฉบับที่2 ยังกำหนดห้ามเกิน 3ไมล์ทะเล กระทบกับเรือพื้นบ้านที่มีกว่าร้อยละ 80

 

ที่มา Thai PBS Online