ประชุมหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกสินค้าประมงของไทย

ได้จัดประชุมเพื่อหารือกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกสินค้าประมงของไทยหลังรัฐบาลประกาศดำเนินมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อจัดระเบียบเรือประมง และสอบถามความเห็นและข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการในประเทศไทย  ภายหลังการประชุมนักข่าวได้ขอสัมภาษณ์ โดยสรุปทุกท่านชี้แจงว่า การหยุดออกเรือ ไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเลขการส่งออก และเห็นด้วยในการดำเนินการภาครัฐฯ เพื่อให้เข้าระบบ ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับของสากล และสร้างความยั่งยืนให้อุตสาหกรรมประมง ทั้งนี้นายกสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย   นายสงวนศักดิ์  อัครวรินทร์ชัย ได้ให้สัมภาษณ์นักข่าวดังนี้:

นักข่าว   :  ผลกระทบต่อปลาป่น..เรือจอด ?

นายกสมาคมฯ    :   แบ่ง 3 อย่างตามวัตถุดิบ

(1) โรงงานที่ทำจากปลาเป็ดเรือ กระทบทันที ไม่มีปลาทำ.

(2) จากเศษซากซูริมิ รายใหญ่บางแห่งมีสต๊อกในห้องเย็น ยังพอได้ทำ ส่วนรายเล็ก ไม่มีห้องเย็นหรือมีสต๊อกน้อยก็ต้องหยุด.

(3) ส่วนโรงงานปลาทูน่า 90%วัตถุนำเข้า มีสต๊อก 3-6เดือน ไม่กระทบ

นักข่าว   :  ปลาป่นจะขาดตลาดไหม?

นายกสมาคมฯ    :   ภายในประเทศ ระยะนี้ยังไม่ขาด เพราะปลาป่นส่วนใหญ่ใช้ในอาหารกุ้ง-ปลา ช่วงนี้ การเลี้ยงกุ้งยังเสียหาย การเลี้ยงปลา น้ำแล้งก็น้อยลง อาหารสัตว์ใช้ปลาป่นน้อย แต่อาหารสัตว์ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้สต๊อก ถ้ายืดเยื้อราคาอาจแพงขึ้น กก.ละ 2-3 บาท 

นักข่าว: รัฐเข้มงวดกฎ15ข้อกับเรือ มีความเห็นอย่างไร?และเรือจะจอดนานไหม? 

นายกสมาคมฯ    :    เรื่องกฎ15ข้อ เพื่อจะตอบโจกท์ อียู แต่ชาวประมงก็ไม่ได้คัดค้าน ถ้าทำได้ ก็จะเป็นการจัดระเบียบการประมงในทะเลไทยให้มีความถูกต้องและยั่งยืนแต่ข้อที่เป็นปัญหาคือเรื่องอาชญาบัตรเรือ เครื่องมือ 4 ประเภทที่ไม่อนุญาตออกอาชญาบัตร ติดขัดเพียงข้อเดียว ส่วนข้ออื่นๆแม้มีปัญหาก็แก้ไขได้หมด รัฐฯปล่อยให้เรือที่ไม่มีอาชญาบัตรดังกล่าวหากินทำประมงมาเป็นเวลาหลายสิบปี จนมีจำนวนเท่ากับที่มีอาชญาบัตรถูกต้องคืออย่างละประมาณ 2-3,000 ลำ รวม 5-6,000ลำ ตัวเลขสุดท้ายของ   ศปมผ. แล้วก็บอก 1 ก.ค.จะเข้มงวดอวดอียู เรือย่อมปรับตัวไม่ทัน กลัวถูกจับปรับหนัก      ก็ต้องจอดเท่านั้นเอง ปมจึงมาอยู่ที่การจัดการแก้ปัญหาของภาครัฐ ว่าจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร?

ส่วนเรื่องเรือจะจอดนานแค่ไหน คงต้องหาคำตอบจากคู่กรณีกันเองครับ..