ประมงตราดเร่งภาครัฐ ช่วยหาทางออก "IUU Fishing" ด่วน

 

     ชาวประมงตราดกว่า 500 คน ร่วมเดินขบวนยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด จี้ช่วยหาทางออกเรื่อง IUU Fishing ให้แก้ไขปัญหาชาวประมงรับผลกระทบเดือดร้อนจากนโยบายของภาครัฐด่วน 

 

     เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 28 พ.ค. 58  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณลานสนามหลวงหน้าศาลากลางจังหวัดตราด นายณรงค์ ชัยศิริ เลขาฯ สมาคมประมงจังหวัดตราด รักษาการณ์นายกสมาคมประมงจังหวัดตราด และ นายอมรศักดิ์ วรวิจิตรพงษ์ นายกสมาคมประมง อ.คลองใหญ่ จ.ตราด พร้อมกลุ่มชาวประมงจังหวัดตราด กว่า 500 คน รวมตัวเดินขบวนเข้าศาลากลางจังหวัดตราด เพื่อนำหนังสือเข้าเรียกร้องให้ช่วยเหลือความเดือดร้อน เรื่อง IUU Fishing ต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด

 

     ด้านนายณรงค์ ธีรจันทรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เป็นผู้รับเรื่อง ท่ามกลางตำรวจและเจ้าหน้าที่ อส. หลายสิบนาย ที่ออกมาดูแลความเรียบร้อย โดยข้อเรียกร้องหลักๆ ที่ทางสมาคมประมงจังหวัดตราด ได้เรียกร้องให้ทางภาครัฐได้ช่วยเหลือชาวประมง เนื่องจากนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง มี IUU Fishing บางข้อ ที่ชาวประมงไม่สามารถปฏิบัติตามนโยบายได้

 

ชาวประมงตราด กว่า 500 คน เดินขบวนยื่นหนังสือต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด จี้ ช่วยหาทางออก

 

     อยากให้ภาครัฐหาทางออกให้ชาวประมง 4 ข้อหลักๆ คือ 1. ออกอาชญาบัตรแก่เรือที่ยังไม่มีอาชญาบัตร และอาชญาบัตรไม่ตรงกับการทำประมงให้ออกอาชญาบัตรให้ตรงตามประเภทการทำประมงจริง และเวลาการทำประมงจริง 2. ใบอนุญาตแรงงานต่างด้าวขอให้ทางรัฐบาลเปิดทำแรงงานตลอดทั้งปี โดยใช้โควตาเป็นหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบ 3. ขอต่างชาติเป็นผู้ควบคุมเรือ (ไต๋เรือ) เนื่องด้วยภาคประมงขาดแรงงานไทยทำให้ขาดบุคลากรที่จะต่อยอดไปเป็นผู้ควบคุมเรือ (ไต๋เรือ) 4. ชาวประมงพื้นบ้านนั้นเป็นเรือประมงขนาดเล็ก เรียกร้องให้ลดหย่อนภาษีสรรพากรลงมาบ้างให้ผู้ประกอบการอยู่ได้

 

     นายณรงค์ ชัยศิริ เลขาฯ สมาคมประมง จ.ตราด รักษาการณ์นายกสมาคมประมง จ.ตราด กล่าวว่า วันนี้ที่ชาวประมงเดินทางมารวมตัวกันนั้น พวกเราไม่ได้ต้องการสร้างความเดือดร้อนหรือจะรวมตัวกันประท้วงแต่อย่างใด เพียงแค่อยากจะนำเรื่องที่ชาวประมงได้รับความเดือดร้อนและรับผลกระทบต่างๆ จากหลักเกณฑ์ของภาครัฐกำหนดมา โดยเรื่องแรกอยากจะให้มีการออกอาชญาบัตรแก่เรือที่ยังไม่มี และให้ตรงตามประเภทการทำประมงจริง

 

     ส่วนในเรื่องปัญหาแรงงานที่สำคัญและพบมากคือ เมื่อมีการรับเงินค่าจ้างแล้ว แรงงานบางส่วนจะหลบหนีไป ทำให้เรือประมงขาดแรงงาน ที่จะทำงานบนเรือจำเป็นต้องนำแรงงานเถื่อน ที่ไม่ได้ลงทะเบียนมาทดแทน ก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและก็ถูกเจ้าหน้าที่ตามจับกุม อยากให้มีการเปิดรับลงทะเบียนแรงงานตลอดทั้งปี เพื่อแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลน และเรื่องที่มีข้อกำหนดให้ผู้ควบคุมเรือ (ไต๋เรือ) จะต้องเป็นคนไทยนั้น เนื่องจากที่ผ่านมาส่วนใหญ่ ไต๋เรือจะเป็นแรงงานต่างด้าวเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อมีการกำหนดข้อบังคับขึ้นมา ทำให้ภาคประมงขาดบุคคลากรส่วนนี้ไป ไม่สามารถทดแทนได้ทัน เพราะคนที่จะมาเป็นไต๋เรือได้ต้องอาศัยประสบการณ์นับสิบๆ ปี ทำให้ทดแทนไม่ทัน และเรื่องสุดท้ายชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นประมงขนาดเล็กได้เรียกร้องให้ภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับลดหย่อนภาษีสรรพากรลงมา เพื่อให้ผู้ประกอบการหรือชาวประมงพื้นบ้านอยู่ได้

 

     นอกจากนี้ ชาวประมงบางส่วนยังมีหนังสือข้อเรียกร้องส่วนตัว ยื่นให้กับศูนย์ดำรงธรรม จ.ตราด โดยนายณรงค์ ธีรจันทรางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด ได้รับเรื่องทั้งหมดไว้ ก่อนจะให้ตัวแทนของกลุ่มประมงที่มาในครั้งนี้ จำนวน 10 คน ได้เข้า

 

 

Credit : www.thairath.co.th